Office Hours: Mon - Fri 8:00-19:00 Sat: 8:00-14:00
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • บทความ
  • สินค้า
    • รับสมัครตัวแทนจำหน่ายปุ๋ย สปป.ลาว
    • เพอร์ไลต์
    • แคลเซี่ยม
    • โดโลไมท์
    • ฟอสเฟต
    • ยิปซั่ม
    • ขี้เค้ก
    • โปรแตสเซียมฮิวเมท
    • ปูนขาว
    • ซีโอไลท์
    • ฮิวมัส
    • วัตถุดิบปุ๋ยบรรจุกระสอบ
    • วัตถุดิบส่งโรงงาน
    • สินค้าสำเร็จรูป
    • สินค้าชนิดน้ำ
  • ติดต่อเรา
  • ไทยไทย
  • EnglishEnglish

วิธีใส่ปุ๋ยต้นยางพารา -การใส่ปุ๋ย ต้นยางพารา

HomeAll Posts......
Logo_TKK-300x117.png
  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
  • บทความ
  • สินค้า
    • รับสมัครตัวแทนจำหน่ายปุ๋ย สปป.ลาว
    • เพอร์ไลต์
    • แคลเซี่ยม
    • โดโลไมท์
    • ฟอสเฟต
    • ยิปซั่ม
    • ขี้เค้ก
    • โปรแตสเซียมฮิวเมท
    • ปูนขาว
    • ซีโอไลท์
    • ฮิวมัส
    • วัตถุดิบปุ๋ยบรรจุกระสอบ
    • วัตถุดิบส่งโรงงาน
    • สินค้าสำเร็จรูป
    • สินค้าชนิดน้ำ
  • ติดต่อเรา
  • ไทยไทย
  • EnglishEnglish
วิธีใส่ปุ๋ยต้นยางพารา -การใส่ปุ๋ย ต้นยางพารา
in สาระน่ารู้ พฤศจิกายน 25, 2016 544Views 0Likes

วิธีใส่ปุ๋ยต้นยางพารา การใส่ปุ๋ย ต้นยางพารา:

วิธีใส่ปุ๋ยต้นยางพารา ระยะแรกหลังจากปลูกยาง รากของต้นยางจะแผ่ออกเป็นวงกลมรอบลำต้น ประมาณปีที่ 4 รากจึงจะแผ่ขยายออกไปจนถึงกึ่งกลางระหว่างแถวยาง และเมื่อต้นยางมีอายุเกิน 5 ปีขึ้นไป รากก็จะแผ่ขยายเพิ่มขึ้นและหนาแน่นอยู่ในบริเวณห่างจากลำต้นประมาณ 60 เซนติเมตร จนถึง 3 เมตร ดังนั้นเพื่อให้การดูดอาหารของต้นยางเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรใส่ปุ๋ยบริเวณที่มีรากดูดอาหารหนาแน่นคือเมื่อต้นยางยังเล็กควรใส่ ปุ๋ยเป็นวงกลมรอบลำต้น ส่วนต้นยางที่มีออายุตั้งแต่ 17 เดือนขึ้นไป ให้หว่านปุ๋ยกระจายสม่ำเสมอเป็นแถบยาวไปให้แถวยางห่างจากโคนต้นยางข้างละ 1 เมตร เมื่อยางมีอายุ 5 ปีขึ้นไปให้หว่านปุ๋ยเป็นแถบกว้างห่างจากโคนต้นยางอย่างน้อย 50 เซนติเมตร และขยายออกไปถึง 3 เมตร สำหรับยางที่เปิดกรีดแล้วให้หว่านปุ๋ยทั่วแปลงห่างจากโคนต้นยางข้างละ 1 เมตร

ตรปุ๋ยยางพาราที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำให้ใช้อยู่ในปัจจุบันมี 6 สูตร แต่ละสูตรจะเหมาะสมกับเนื้อดิน
และอายุของต้นยางแตกต่างกัน ดังแสดงไว้ในตาราง
ตารางแสดงสูตรปุ๋ยที่มีความเหมาะสมกับเนื้อดินและอายุของต้นยาง
ปุ๋ยสูตรที่ สูตรปุ๋ย ชนิดของดิน อายุของต้นยาง
ปุ๋ยเม็ด ปุ๋ยผสม
1 18-10-6 8-14-3 ดินร่วน 2 – 41 เดือน
2 18-4-5 13-9-4 ดินร่วน 47 – 71 เดือน
3 16-8-14 8-13-7 ดินทราย 2 – 41 เดือน
4 14-4-19 11-10-7 ดินทราย 47 – 71 เดือน
5 – 15-0-18 ดินทุกชนิด ต้นยางหลังจากเปิดกรีดซึ่งเคยปลูกพืชคลุมดินและใส่ปุ๋ยฟอสเฟต บำรุงพืชคลุมดิน
6 15-7-18 12-5-14  ดินทุกชนิด ต้นยางหลังเปิดกรีด ซึ่งไม่เคยปลูกพืชคลุมดินมาก่อน
หมายเหตุ 
  • ฟอสฟอรัสในสูตรปุ๋ยเม็ดเป็นค่าของฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์
  • ฟอสฟอรัสในสูตรปุ๋ยผสมเป็นค่าของฟอสฟอรัสทั้งหมด
  • ดินทราย คือ ดินที่มีเนื้อดินส่วนใหญ่เป็นดินทราย อุ้มน้ำไม่ดี ถูกชะล้างได้ง่ายตรึงธาตุอาหารได้น้อย มีโปแตสเซียมต่ำ
  • ดินร่วน คือ ดินที่มีเนื้อดินะเอียดพอสมควร อุ้มน้ำได้ดี มีการระเหยน้ำและถ่ายเทอากาศพอเหมาะ ตรึงธาตุอาหารได้มากพอสมควร มีโปแตสเซียมตั้งแต่ปานกลางถึงค่อนข้างต่ำ
  • ปุ๋ยเม็ด คือ ปุ๋ยที่ได้จากการนำวัตถุดิบให้กำเนิดปุ๋ยไปผ่านกรรมวิธีการผลิตทางเคมีตามขั้นตอนต่างๆ ปุ๋ยที่ได้จะเป็นเนื้อเดียวกัน ปุ๋ยแต่ละเม็ดจะมีองค์ประกอบของธาตุเหมือนๆ กัน เช่นปุ๋ยสูตร 15-7-18, 15-15-15 จัดเป็นปุ๋ยเคมีตามพระราชบัญญัติปุ๋ย เป็นปุ๋ยที่มีขายทั่วไปตามท้องตลาดและมีผู้นิยมใช้มากที่สุด
  • ปุ๋ยผสม คือ ปุ๋ยที่ได้จากการนำแม่ปุ๋ยหรือปุ๋ยเชิงเดี่ยวมาผสมด้วยวิธีกลโดยไม่ผ่านกรรมวิธีทางเคมี เช่น นำเอาปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ปุ๋ยร้อคฟอสเฟตและปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์มาผสมคลุกเคล้ากันในอัตราส่วนต่างๆ เพื่อให้ได้ปริมาณธาตุอาหารตามต้องการ แล้วนำไปใช้ทันที เป็นต้น
​ปุ๋ยผสมสำหรับสวนยางจะใช้แม่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตร้อคฟอสเฟตและโปแตสเซียมคลอไรค์ผสมกันในอัตราส่วนที่
แตกต่างกันไปตามสูตรปุ๋ยทั้ง 6 สูตร ดังแสดงไว้ในตารางถัดไป
ตารางแสดงปริมาณธาตุอาหารและส่วนผสมของแม่ปุ๋ยในปุ๋ยผสมสูตรต่างๆ อัตรา 100 กิโลกรัม
ปุ๋ยผสมสูตรที่ ปริมาณธาตุอาหาร (%) น้ำหนักของแม่ปุ๋ยที่ใช้ผสม (กิโลกรัม)
ไนโตรเจน
(N)
ฟอสเฟต
(P2 O5)
โปแตสเซี่ยม
(K2O)
แอมโมเนียมซัลเฟต
(21%N)
ร้อคฟอสเฟต
(25%P25)
โปแตสเซี่ยมคลอไรด์
(60%K20)
1 8 14 3 38 57 5
2 13 9 4 60 34 6
3 8 13 7 36 53 11
4 11 10 7 50 38 12
5 15 – 18 71 – 29
6 12 5 14 57 20 23
หมายเหตุ
  • ควรผสมปุ๋ยบนพื้นซีเมนต์ โดยคลุกเคล้าแม่ปุ๋ยที่ใช้ผสมให้สม่ำเสมอเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อผสมแล้วควรใช้ทันที ปุ๋ยจะไม่แข็งตัว และควรผสมให้ใช้หมดภายในครั้งเดียว
วิธีการใส่ปุ๋ย 
 วิธีการใส่ปุ๋ยที่ดีจะต้องเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกในการปฏิบัติใส่แล้วพืชสามารถดูดไปใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด
โดยมีวิธีการใส่ปุ๋ยดังนี้
  • ใส่รองพื้น – นิยมใช้ปุ๋ยร้อคฟอสเฟต ซึ่งเป็นปุ๋ยที่เคลื่อนไหวได้ยาก เพราะถูกตรึ่งด้วยแร่ธาตุต่างๆ ในดิน โดยคลุกเคล้าปุ๋ยกับดินแล้วใส่ลงในหลุมก่อนปลูกยาง
  • ใส่แบบหว่าน – เป็นการหว่านปุ๋ยให้ทั่วบริเวณที่ใส่ปุ๋ย เหมาะสำหรับใช้กับพื้นที่ที่เป็นที่ราบ และมีการกำจัดพืชด้วยสารเคมีเพราะเศษซากพืชที่เหลือจะช่วยป้องกันการชะล้างปุ๋ยในช่วงที่มีฝนตก แต่ถ้าเป็นที่ราบที่กำจัดพืชด้วยวิธีถาก ควรคราดให้ปุ๋ยเข้ากับดินด้วย เพื่อป้องกันน้ำฝนชะล้างปุ๋ย
  • ใส่แบบเป็นแถบ – เป็นการใส่ปุ๋ยโดยโรยเป็นแถบไปตามแนวแถวต้นยางในร่องที่เซาะไว้ แล้วกลบ วิธีนี้จะใช้กับต้นยางที่มีอายุ 17 เดือนขึ้นไป และยังเหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีความลาดเทเล็กน้อยหรือพื้นที่ทำขั้นบันได้ด้วย
  • ใส่แบบเป็นหลุม – เป็นการใส่ปุ๋ยโดยการขุดหลุมบริเวณรอบโคนหรือสองข้างของต้นยางประมาณ 2-4 หลุมต่อต้น แล้วใส่ปุ๋ยลงในหลุมกลบให้เรียบร้อย เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ลาดเทและไม่ได้ทำขั้นบันได
นอกจากปัจจัยดังกล่าวข้างต้นแล้ว สิ่งที่ควรคำนึงเพื่อให้การใส่ปุ๋ยมีประสิทธิภาพมากที่สุด ก็คือ ควรใส่ปุ๋ยในขณะที่ดิน
มีความชุ่มชื้นเพียงพอ หลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยในช่วงที่มีอากาศแห้งแล้งหรือฝนตกชุกมากเกินไป และควรกำจัดพืชก่อนใส่ปุ๋ยทุกครั้ง ถ้าต้องการให้ต้นยางสมบูรณ์ แข็งแรง เจริญเติบโตดีสามารถเปิดกรีดได้เร็ว ให้ผลผลิตสูงสม่ำเสมอติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะต้องมีการใส่ปุ๋ยให้กับต้นยางสม่ำเสมอตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงก่อนโค่น 3-5 ปี โดยปฏิบัติให้ถูกต้องเหมาะสมตามหลักการที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
บริเวณที่ใส่ปุ๋ย 
ระยะแรกหลังจากปลูกยาง รากของต้นยางจะแผ่ออกเป็นวงกลมรอบลำต้น ประมาณปีที่ 4 รากจึงจะแผ่ขยายออกไป จนถึง
กึ่งกลางระหว่างแถวยาง และเมื่อต้นยางมีอายุเกิน 5 ปีขึ้นไป รากก็จะแผ่ขยายเพิ่มขึ้นและหนาแน่นอยู่ในบริเวณห่างจากลำต้นประมาณ 60 เซนติเมตร จนถึง 3 เมตร ดังนั้นเพื่อให้การดูดอาหารของต้นยางเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรใส่ปุ๋ยบริเวณที่มีรากดูดอาหารหนาแน่นคือเมื่อต้นยางยังเล็กควรใส่ปุ๋ยเป็นวงกลมรอบลำต้น ส่วนต้นยางที่มีออายุตั้งแต่ 17 เดือนขึ้นไป ให้หว่านปุ๋ยกระจายสม่ำเสมอเป็นแถบยาวไปให้แถวยางห่างจากโคนต้นยางข้างละ 1 เมตร เมื่อยางมีอายุ 5 ปีขึ้นไปให้หว่านปุ๋ยเป็นแถบกว้างห่างจากโคนต้นยางอย่างน้อย 50 เซนติเมตร และขยายออกไปถึง 3 เมตร สำหรับยางที่เปิดกรีดแล้วให้หว่านปุ๋ยทั่วแปลงห่างจากโคนต้นยางข้างละ 1 เมตร

ติดตามเราผ่านทางเพจ facebook

โรงงานผลิตปุ๋ย รับผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ,รับผลิตปุ๋ยอินทรีย์เคมี, รับผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพโรงงานผลิตปุ๋ยของเราเป็นโรงงานผลิตปุ๋ย ที่มีขนาดใหญ่ได้มาตรฐาน มีกำลังการผลิต ผลิตวัตถุดิบได้วันละ 1,000 ตัน (30,000 ตัน/เดือน).

 

Tags: npkปุ๋ยการเกษตรอินทรีย์ขายปุ๋ยบริษัทขายเคมีเกษตรบริษัทปุ๋ยปุ๋ยnpkปุ๋ยข้าวปุ๋ยทางใบปุ๋ยนาโนปุ๋ยน้ำปุ๋ยน้ำชีวภาพปุ๋ยมันสำปะหลังปุ๋ยยางพาราปุ๋ยออแกนิคปุ๋ยเร่งดอกปุ๋ยเร่งโตร้านขายปุ๋ยสารปรับสภาพดินสินค้าเกษตรโรงงานปุ๋ยโรงงานผลิตปุ๋ยไคโตซาน Share this entry

เมนูนำทาง เรื่อง

Previous post:
Office ทีเคเค
พฤศจิกายน 20, 2016
Next post:
การปลูกข้าวโพด – วิธีการปลูกข้าวโพด
พฤศจิกายน 29, 2016

You May Also Like

การปลูกข้าวโพด – วิธีการปลูกข้าวโพด
พฤศจิกายน 29, 2016
การปลูกข้าวโพด – วิธีการปลูกข้าวโพด
ค้นหา
บทความล่าสุด
โรงงานรับผลิตปุ๋ยน้ำ ฝ่ายผลิต โรงงานผลิต
โรงงานรับผลิตปุ๋ยน้ำ ฝ่ายผลิต โรงงานผลิต
สิงหาคม 10, 2020 1206Views
ผลิตปุ๋ยน้ำ อะมิโน ฮอร์โมน รองเสริม ไคโตซาน พืชและสัตว์
ผลิตปุ๋ยน้ำ อะมิโน ฮอร์โมน รองเสริม ไคโตซาน พืชและสัตว์
มกราคม 24, 2019 721Views
วิธีใส่ปุ๋ยต้นข้าว – การใส่ปุ๋ยต้นข้าว
วิธีใส่ปุ๋ยต้นข้าว – การใส่ปุ๋ยต้นข้าว
พฤศจิกายน 29, 2016 1103Views
การปลูกข้าวโพด – วิธีการปลูกข้าวโพด
การปลูกข้าวโพด – วิธีการปลูกข้าวโพด
พฤศจิกายน 29, 2016 1136Views
วิธีใส่ปุ๋ยต้นยางพารา -การใส่ปุ๋ย ต้นยางพารา
วิธีใส่ปุ๋ยต้นยางพารา -การใส่ปุ๋ย ต้นยางพารา
พฤศจิกายน 25, 2016 544Views
ป้ายกำกับ
npkปุ๋ย ขายปุ๋ย คุณสมบัติแร่งเพอร์ไลต์ ประโชยน์ของแร่เพอร์ไลต์ ปุ๋ยnpk ปุ๋ยทางใบ ปุ๋ยนาโน ปุ๋ยมันสำปะหลัง ปุ๋ยยางพารา ปุ๋ยเร่งโต สารปรับสภาพดิน สินค้าเกษตร เพอร์ไลต์ แร่เพอร์ไลต์ โรงงานผลิตปุ๋ย ไคโตซาน Share this entry
  • ฮิวมัส
  • ซีโอไลท์
  • ปูนขาว
  • โปรแตสเซียมฮิวเมท
  • ขี้เค้ก
  • ยิปซั่ม
  • ฟอสเฟต
  • โดโลไมท์
  • แคลเซี่ยม
  • เพอร์ไลต์

Copyright © TKK.FERTILIZERZ(THAILAND) Co,Ltd. @ 2020. All Rights Reserved.- Website Design Thailand By CSME